คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข และค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเรือต่างประเทศที่เข้ามาในน่านน้ำไทย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. 2558 และอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. 2006 (Maritime Labour Convention 2006) เพื่อให้ประเทศไทยมีหลักเกณฑ์การปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศในการคุ้มครองดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการและชีวิตความเป็นอยู่ของคนประจำเรือให้ดีขึ้น ตลอดจนเป็นการวางหลักเกณฑ์ด้านแรงงานทางทะเลสำหรับเรือต่างชาติที่มาจอดเทียบท่าเรือในฐานะรัฐเจ้าของท่าเรือ (Port State Control) อันเป็นการส่งเสริมกิจการธุรกิจพานิชยนาวีของประเทศอีกทางหนึ่ง
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจเรือโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หรือมีหนังสือสอบถาม หรือเรียกเจ้าของเรือ คนประจำเรือ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
2. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อนายเรือ หรือเจ้าของเรือในการเข้าตรวจเรือ และนายเรือหรือเจ้าของเรือต้องอำนวยความสะดวกและไม่ขัดขวางการปฏิบัติตามหน้าที่
3. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการสอบถามข้อเท็จจริง เก็บเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ และกระทำการอย่างอื่นเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานทางทะเล ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบที่อาจทำให้เจ้าของเรือ นายเรือ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความเสียหาย ห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร
4. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรายงานการตรวจเรือต่างประเทศตามแบบของบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยการควบคุมเรือของรัฐเมืองท่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Report of Inspection in Accordance with the Memorandum of Understanding on Port State Control in the Asia – Pacific Region) หากมีข้อบกพร่อง ให้เจ้าของเรือดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่อง แล้วแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 วันทำการ เพื่อให้ไปทำการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่อง และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สลักหลังการแก้ไขดังกล่าวไว้
5. กำหนดให้หากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าข้อบกพร่องของเรือเป็นการฝ่าฝืนอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานทางทะเล ค.ศ. 2006 อย่างร้ายแรง หรือเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่เกิดขึ้นซ้ำ ให้ดำเนินการกักเรือ และออกคำสั่งเป็นหนังสือให้นายเรือของเรือต่างประเทศนั้นดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้ถูกต้อง พร้อมทั้งแจ้งการกักเรือไปยังรัฐเจ้าของธงของเรือต่างประเทศ องค์กรด้านคนประจำเรือและองค์กรเจ้าของเรือที่เกี่ยวข้องกับเรือนั้น เฉพาะในกรณีที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือกรณีเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวได้ทันที อาจให้นายเรือหรือเจ้าของเรือจัดทำแผนแก้ไขข้อบกพร่องและระบุระยะเวลาการแก้ไขข้อบกพร่องแล้วเสร็จ โดยนายเรือหรือเจ้าของเรือจะต้องส่งแผนแก้ไขข้อบกพร่องนั้นเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐเจ้าของธงของเรือ และจะได้รับการปล่อยเรือเมื่อได้แก้ไขข้อบกพร่องแล้ว
6. กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการตรวจสอบเรือ ดังนี้
ประเภท
ค่าเดินทางในการตรวจสอบ - อัตราค่าใช้จ่าย
- กรณีไม่ค้างคืน 3,000 บาท/วัน
- กรณีต้องค้างคืน 6,000 บาท/คืน
- กรณีวันหยุดราชการไม่ค้างคืน 6,000 บาท/คืน
- กรณีวันหยุดราชการและต้องค้างคืน 9,000 บาท/คืน
ค่าเดินทางโดยสารเครื่องบิน หรือเช่าเหมาเรือ หรือยานพาหนะอื่น ๆ นอกจากรถยนต์ / จ่ายตามที่จ่ายจริง
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบ / จ่ายตามที่จ่ายจริง
หมายเหตุ: การตรวจสอบที่ใช้เวลาไม่ถึง24 ชั่วโมง ให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 1 วัน และเวลาที่เกิน 24 ชั่วโมง ให้คิดอัตราค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเท่ากับ 1 วัน
ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 สิงหาคม 2563
"การตรวจสอบ" - Google News
August 25, 2020 at 03:56PM
https://ift.tt/2EuzI78
ร่างกฎกระทรวงการตรวจเรือ การกักเรือ การเสนอแผนแก้ไข - อาร์วายที9
"การตรวจสอบ" - Google News
https://ift.tt/2V8hayf
0 Comments:
Post a Comment