เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณีชาวกาตาร์ ที่เข้ามารักษาโรคมะเร็งตับในไทยแต่กลับตรวจพบโควิด-19 ว่า การรับคนต่างชาติมารักษาโรคเรื้อรังในไทยนั้นกำหนดว่าต้องตรวจแล็บหาเชื้อใน 72 ชม. หากปลอดเชื้อถึงให้เข้าไทย ซึ่งรายดังกล่าวก็มีการตรวจแล็บใน 72 ชม. ซึ่งไม่เจอเชื้อ แต่เมื่อเข้ามาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ก็มีการตรวจสอบซ้ำ ถึงเจอ ขณะนี้ยังไม่มีการแสดงอาการของโรคโควิด ส่วนผู้ติดตามเป็นคนใกล้ชิดในครอบครัว มีการตรวจแล็บแล้วแต่ไม่เจอเชื้อโควิดแต่อย่างใด ทั้งนี้ จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกับสเตจ ควอรันทีน ที่เรารับคนไทยกลับมา บางคนตรวจครั้งแรกไม่เจอเชื้อ แต่มาเจอในครั้งหลังๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งระยะฟักตัวของโรค โดยการเจอครั้งนี้เป็นเคสที่ 2 ส่วนรายแรกที่เข้ามารักษาโรคเรื้อรังแล้วตรวจเจอโควิดในภายหลังคือชาวบังกลาเทศ
อย่างไรก็ตามจากระบบที่เราทำคือคนไข้เข้ามาก็คืออยู่ในระบบปิด มีรถไปรับตั้งแต่สนามบิน และกักตัวในรพ.ตลอด ดังนั้นแม้จะตรวจเจอเชื้อ แต่ก็ถือว่าอยู่ในการควบคุมดูแล อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กองระบาดวิทยาจะทำการสอบสวนโรคเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ เพื่อทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากที่สุด ยืนยันว่าระบบปัจจุบันสามารถจับเชื้อได้ ผู้ป่วยอยู่ในระบบปิด 100% ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ทั้งนี้จากกรณีดังกล่าวสิ่งที่ต้องมีการทบทวน จากเดิมที่เราเปิดให้ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำเข้ามาได้ แต่จากนี้อาจจะต้องทบทวนประเทศที่จะอนุญาตให้เข้ามารักษาโรคเรื้อรัง พร้อมดูเรื่องมาตรฐานการตรวจแล็บด้วย ซึ่งวันนี้การที่เราพบถือว่าน้อย และตอนเข้าผลตรวจก็เป็นลบ ตรงกับแนวทางของประเทศคือไม่ใช่การเอาคนที่มีเชื้ออยู่แล้วเข้ามาในประเทศ
นพ.ธเรศ กล่าวว่า การเปิดให้คนต่างชาติ เข้ามารับการรักษาโรคประจำตัว ที่ไม่ใช่การเข้ามารักษาโรคโควิด พร้อมผู้ติดตามไม่เกิน 3 คน นั้นจะต้องมีการตรวจแล็บด้วยวิธี RT-PCR ใน 72 ชม.ไม่มีการติดเชื้อ ถึงจะให้เข้ามาในไทย เมื่อเข้ามาแล้วต้องมีการตรวจแล็บอีก 3 ครั้ง ต้องมีหลักฐานทางการเงินที่แสดงความพร้อมในการจ่ายค่ารักษา มีกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้ามาแล้วทุกคนต้องกักตัวในรพ.ดังกล่าวเป็นเวลา 14 วัน ถึงแม้จะรักษาโรคเรื้อรังนั้นเสร็จก่อนครบ 14 วัน แต่ก็ต้องอยู่รพ.จนครบตามาตรฐาน 14 วัน หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน , พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และพ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
ทั้งนี้ตั้งแต่เปิดให้เข้ามาเมื่อปลายเดือน ก.ค. มีคนต่างชาติเข้ามาแล้ว 166 ราย เป็นผู้ป่วย 90 ราย ผู้ติดตาม 76 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน อาเซียน และอาหรับ โดยเข้ามารักษา โรคเรื้อรัง เบาหวาน มะเร็ง กล้ามเนื้อ โรคข้อกระดูก รวมถึงการรักษาโรคมีบุตรยาก เป็นต้น สำหรับวันนี้ (24 ส.ค.) จะเข้ามาอีก 3 ราย ส่วนคนที่ทำเรื่องขอเข้ามาตอนนี้เป็นผู้ป่วย 432 ราย ผู้ติดตาม 250 ราย รวมเป็น 673 ราย สำหรับการเข้ามารักษาที่คลินิกนั้นจะต้องมีการจับคู่กับรพ. เพื่อให้เป็นสถานที่กักตัวในระยะเวลา 14 วันด้วย
ด้าน นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศกาตาร์ มีผู้ป่วยรายใหม่วันละประมาณ 200 ราย แต่เป็นอัตราที่ค่อนข้างคงที่ เลยจุดพีคของการระบาดมาเยอะแล้ว ซึ่งรายนี้เข้ามาอยู่ในรพ.ตลอด ถ้ารพ.ปฏิบัติตามมาตรการที่ตกลงกันไว้ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ ส่วนกรณีคนที่เป็นโรคเรื้อรังแล้วโควิดจะทำให้อาการรุนแรงหรือไม่นั้น ขอตอบในลักษณะทั่วๆ ไป คือโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงกรณีผู้ป่วยที่ต้องรับยาเคมีบำบัด ซึ่งจะทำให้ถูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ จึงมีความเสี่ยงที่โควิดจะทำให้อาการรุนแรงได้
ผู้สื่อข่าวถามถึงเกณฑ์ในการแบ่งบุคลากรในการดูผู้ป่วยคนไทยกับผู้ป่วยต่างชาติที่รับเข้ามา นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร แต่ตามมาตรฐาน เช่น ที่สถาบันบำราศนราดูร ซึ่งดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นโควิด จะมีการแบ่งทีมบุคลากรการแพทย์ ส่วนการจัดแบ่งบุคลากร สลับกันทำงาน ถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ป้องกันตนเองเต็มที่ก็ถือว่าปลอดภัย สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเลย อีกทั้งยังมีเจ้าหน้าที่เซฟตี้ที่คอยตรวจสอบว่าบุคลากรที่ปฏิบัติมางานนั้นทำถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่ามีความเสี่ยงก็จะให้กักตัว ซึ่งคิดว่ารพ.เอกชนก็เป็นมาตรฐานแบบเดียวกัน โดยมีการปฏิบัติกับผู้ป่วยต่างชาติเสมือนว่าเป็นผู้ติดโควิด จึงต้องป้องกันตัวเองเต็มที่ คงไม่คุ้มหากปล่อยปละ แล้วเกิดเจ้าหน้าที่ติดเชื้อขึ้นมา.
"การตรวจสอบ" - Google News
August 24, 2020 at 03:13PM
https://ift.tt/2YvnAtv
สบส.แจงกาตาร์ติดโควิดหลังเข้ารักมะเร็งตับผ่านการตรวจเชื้อแล้ว - เดลีนีวส์
"การตรวจสอบ" - Google News
https://ift.tt/2V8hayf
0 Comments:
Post a Comment