โครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดบทบาทและหน้าที่ขององค์กรไว้ได้แก่ รัฐสภา (หมวด7) คณะรัฐมนตรี (หมวด8) ศาล (หมวด10) ศาลรัฐธรรมนูญ (หมวด11) องค์กรอิสระ (หมวด12) และองค์กรอัยการ (หมวด13) ซึ่งมาตรา 248 วรรค 1 และ 2 บัญญัติไว้ว่า “องค์กรอัยการมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง และไม่ให้ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง
สำหรับหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) นั้น มาตรา 3 วรรค 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล” ซึ่งเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่ (Separation of Powers) โดย
1.รัฐสภา เป็น องค์กรนิติบัญญัติ ใช้อำนาจนิติบัญญัติ วางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ เช่น การตรากฎหมาย
2.คณะรัฐมนตรี เป็น องค์กรบริหาร ใช้อำนาจปฏิบัติการ บริหารจัดการประเทศ
3.ศาล เป็น องค์กรตุลาการ ใช้อำนาจตุลาการในการวินิจฉัยอรรถคดี
"การตรวจสอบ" - Google News
July 27, 2020 at 10:30AM
https://ift.tt/3f02zwt
"ทิพานัน" ชี้ คดี "บอส อยู่วิทยา" ยังมีช่องกฎหมายตรวจสอบได้ - คมชัดลึก
"การตรวจสอบ" - Google News
https://ift.tt/2V8hayf
0 Comments:
Post a Comment