เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา Facebook ออกรายงาน Civil Rights Audit หรือผลการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกครอบคลุมนโยบายสำคัญของ Facebook เช่น สิทธิพลเมือง, ความเป็นส่วนตัว, ความโน้มเอียงของอัลกอริทึม, Free Speech & Hate Speech
Laura W. Murphy อดีตผู้อำนวยการ ACLU และเป็นผู้นำการสืบสวนทำรายงานชิ้นนี้ร่วมกับ Megan Cacace ทนายความด้านสิทธิพลเมืองสรุปได้ว่า Facebook มีความคืบหน้าที่จะแก้ปัญหาต่างๆ เปรียบเทียบการทำงานของ Facebook กับการปีนเขาเอเวอเรสต์ แต่ก็ไม่ได้ลงทุนมากพอในการหาวิธีรับมือกับความท้าทายทางด้านสิทธิพลเมือง
เว็บไซต์ Recode สรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Civil Rights Audit ไว้ 5 ข้อ
ภาพจาก รายงาน Civil Rights Audit ฉบับเต็ม
Facebook ปฏิบัติต่อโพสต์ของโดนัลด์ ทรัมป์ ในมาตรฐานที่แตกต่างจากโพสต์ของคนอื่น
โพสต์ของทรัมป์หลายอย่างที่มีเนื้อหาส่งเสริมความรุนแรง, คุกคามประชาชนและผู้ประท้วง Black Lives Matter, เผยแพร่ข้อมูลผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยไปรษณีย์ แต่ Facebook ก็ยังยืนยันว่าเนื้อหาของทรัมป์ ไม่ละเมิดหลักเกณฑ์ของแพลตฟอร์มแต่อย่างใด
แม้ภายหลัง Facebook ออกนโยบายยอมแปะป้ายให้กับคอนเทนต์ที่มีปัญหา แต่บริษัทตั้งใจไม่ลบเพราะเป็นคอนเทนต์ที่ควรค่าแก่การเป็นข่าวให้สาธารณชนรับทราบ (newsworthy content) เท่ากับว่า Facebook ก็จะไม่ทำอะไรกับโพสต์ของทรัมป์อยู่ดี
ทางผู้ตรวจสอบระบุว่าสิ่งนี้เป็นความล้มเหลว และถือเป็นความพยายามจะยับยั้งและกดอำนาจในการโหวตเลือกตั้งของประชาชน ทำลายความเชื่อใจที่ประชาชนมีต่อ Facebook และเปิดทางให้นักการเมืองคนอื่นดำเนินพฤติกรรมตามรอยทรัมป์
Facebook ให้คุณค่า Free Speech เหนือกว่าความเสมอภาค
ผู้ตรวจสอบบอกว่า การที่ Facebook ให้ความสำคัญกับ Free Speech เหนือสิ่งอื่นใดนั้นมีราคาต้องจ่าย เพราะแนวคิดนี้ ทำให้ Facebook มองว่าไม่ควรเซนเซอร์คำพูดนักการเมืองเพราะประชาชนมีสิทธิจะรู้
แต่ปัญหาคือมันเปิดโอกาสให้นักการเมืองแพร่ข้อมูลผิดแค่ไหนก็ได้ ให้สิทธิ์การแสดงออกแก่นักการเมืองเหนือกว่าเสียงของประชาชนทั่วไป นำไปสู่การทำลายสิทธิพลเมือง และทำลายคุณค่าที่ Facebook ยึดถือเอง
Facebook ยังต้องต่อสู้อีกมากในการจัดการ Hate Speech
Facebook ยังคงมีปัญหา Hate Speech คาราคาซัง โดยเฉพาะเนื้อหาแสดงความเกลียดชังจากกลุ่มนิยมคนขาวสุดโต่ง แม้ Facebook จะแสดงออกถึงความพยายามแก้ปัญหา เช่น จ้างคนมาคัดกรอง ลงทุนเทคโนโลยีตรวจจับ แต่ทางผู้ตรวจสอบชี้ว่า เนื้อหาเกลียดชัง ยังคงอยู่บนแพลตฟอร์มอย่างที่ควรจะเป็น
COVID-19 ทำให้รู้ว่า Facebook มีศักยภาพจัดการเนื้อหาอันตรายได้ถ้าตั้งใจทำ
Facebook มีความกระตือรือร้นในการจัดการข้อมูลปลอมเกี่ยวกับโรคระบาดได้ดี มีการตอบสนองอย่างทันท่วงที ออกฟีเจอร์ให้ข้อมูลโรคระบาดที่ถูกต้องได้ แม้สถานการณ์โรคระบาดจะวิกฤตและมีความซับซ้อนมากก็ตาม
Facebook ควรแต่งตั้งผู้บริหารสิทธิพลเมือง มาร่วมตัดสินใจและกำหนดนโยบาย
Facebook โดนกดดันให้แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงที่เชี่ยวชาญด้านสิทธิพลเมืองโดยเฉพาะ แต่ในรายงานนี้ระบุว่าลำพังแต่งตั้งนั้นไม่พอ Facebook ต้องให้อำนาจเขาคนนั้นในการกำหนดนโยบายและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าเนื้อหาแบบไหนบนแลพตฟอร์มที่ละเมิดสิทธิพลเมือง
สืบเนื่องจากโพสต์ของทรัมป์ และการตัดสินใจว่าลบหรือไม่ลบ มีคนเพียงหยิบมือใน Facebook ที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีเพียงคนเดียวที่เป็นคนดำ
รายงาน Civil Rights Audit มีความยาว 89 หน้า ใช้เวลาในการจัดทำสืบสวนและรวมรวมข้อมูล 2 ปี และ Facebook ก็นำมาเผยแพร่ในช่วงที่สังคมและแบรนด์สินค้าร่วมกันบอยคอต ไม่จ่ายเงินลงโฆษณาด้านแกนนำบอยคอตยังได้พูดคุยกับทีมผู้บริหาร Facebook แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่า Facebook จะแก้ปัญหา Hate Speech จริงจัง
ในรายงาน Civil Rights Audit ระบุความคืบหน้าของ Facebook หลายอย่าง เช่น หารให้คำมั่นสัญญาจะจ้างผู้บริหารที่เชี่ยวชาญสิทธิพลเมือง, ลงทุนเพิ่มความหลากหลายในองค์กร, มีการออกแบบนโยบายป้องกันการแทรกแซงเลือกตั้งจากต่างประเทศ ผ่านการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด, ลงทุนในทีมงานเฉพาะด้านในการพัฒนา AI อย่างมีจริยธรรมลดความโน้มเอียง เป็นต้น
ที่มา - Recode, Civil Rights Audit
"การตรวจสอบ" - Google News
July 10, 2020 at 04:28PM
https://ift.tt/3edJ0R6
ผลการตรวจสอบ Facebook มีปัญหาสิทธิพลเมือง, ให้ความสำคัญ Free Speech มากกว่า Hate Speech - Blognone
"การตรวจสอบ" - Google News
https://ift.tt/2V8hayf
0 Comments:
Post a Comment